วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ช่างสี


                                                          ช่างสี

 

 

 

   งานช่างสี  เป็นงานช่างขั้นสุดท้ายของงานช่างหลายแขนง  เช่น  งานไม้  งานปูน  และงานโลหะ  เพื่อตกแต่งงานที่จัดทำสำเร็จแล้ว  ให้ดูเรียบร้อยสวยงาม  งานช่างสีนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามเรียบร้อยแล้ว  ยังช่วยให้งานแต่ละชิ้นมีความคงทนถาวรยิ่งขึ้น  ยืดอายุ     การใช้งานให้ยาวนานขึ้น  งานช่างสีมีหลักวิธีการ  เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุที่ต้องศึกษา  จึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  งานช่างสีเป็นงานที่ทำได้ทั้งชายและหญิง

 

การแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งานโดยเริ่มจากชั้นล่างสุด คือ

1. สีรองพื้น ( Primer ) หมายถึงสีชั้นแรกสุด ที่เคลือบติดวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง คือ สีที่กันความเป็นด่างจากพื้นปูนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นด่างจากเนื้อปูน ทำปฏิกิริยากับสีทาทับหน้า ลดจำนวนสีทับหน้า วิธีนี้สามารถลดจำนวนสีทับหน้าลงได้

2. สีชั้นกลาง ( Undercoat ) เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า

3. สีทับหน้า ( Top Coat ) เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจ

4. สีทับหน้าประเภทใส ( Clear T/C ) เป็นสีที่ไม่มี Pigment จะไม่มีสีเป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน


 

การจำแนกวัตถุประสงค์ของสีกับการใช้งาน

สีเป็นวัสดุเคลือบผิวชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ แล้วสรุปจำแนกสีนำไปใช้งานได้อย่างคร่าวๆ เพื่อให้ีความเข้าใจ แบบกว้างๆเกี่ยวกับการแยกลักษณะการใช้งานของสีชนิดต่างๆดังนี้
1. สีทาซีเมนต์ / คอนกรีต เช่น บ้าน อาคาร ตึก คอนโด อาพาร์ทเมนต์ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ เป็นหลัก ควรใช้สีน้ำหรือสีน้ำ Emulsion เคลือบทับพื้นผิว ดูระบบด้วย
2. สีทาไม้ – ทาเหล็ก เช่น บ้านไม้ เรือไม้ เรือเหล็กขนาดเล็ก ชิ้นงานเหล็กต่างๆ ควรใช้สีเคลือบเงาทาดูระบบด้วย
3. สีทาถนน ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ควรใช้สีทาถนนโดยเฉพาะ
4. สีอบ เป็นสีที่ใช้ความร้อน อบชิ้นงาน เช่น ตู้เอกสาร แผ่นโลหะเคลือบต่างๆ
5. สีอบ ประเภท UV Cure เป็นสีหรือกึ่งหมึกพิมพ์ ใช้กับถุงอาหาร จะผ่านแสง UV และจะแห้งทันที เช่น ถุงอาหาร ดินสอ
6. สีทนความร้อน เป็นสีที่ใช้กับงานต่างๆ ที่ต้องการทนความร้อน เช่น ปล่องไฟ ปล่องควัน ท่อไอเสีย
7. สีใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ทาท่อน้ำ ปล่องไฟ ท่อก๊าซ ทาขอบถนนบอกเป็นห้ามจอด ขอบทาง
8. สีใช้งานเฉพาะ เช่น สีพ่น Acrylic ประตู Alloy สีกันเพรียง สีทาเรือรบ สีพ่นรถยนต์ สีพรางรถถัง สีพ่นตู้เอกสาร สีพ่นเครื่องดับเพลิง ฯลฯ จะมีระบุเฉพาะ
แนวคิดในการเลือกใช้สี
สีในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด แบ่งแยกตามจุดประสงค์การใช้งาน แนวคิดกว้างๆ ในการเลือกใช้สี ต้องเลือกใช้สี ที่เหมาะสม กับจุดประสงค์ การใช้งาน เพื่อประโยชน์สูงสุด ที่ได้รับ การเลือกสีสำหรับอาคารนั้น ต้องเลือกให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ใช้ โดยแยกตาม ประโยชน์และหน้าที่ เฉพาะของสีโดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ทาสีเพื่อปกป้องพื้นผิว การทีสีนั้นนอกจากทำเพื่อความเรียบร้อยสวยงามแล้วยังช่วยปกป้องและป้องกันความเสียหายอันเกิดกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ของอาคารจากการกัดกร่อนของธรรมชาติ ได้แก่ แสงแดด ฝน สภาวะอากาศ รวมถึงทั้งสารเคมี และการสัมผัส เช็ด ถู ขูดขีด เป็นต้น

2. เพื่อสุขลักษณะและความสะอาด การทาสีที่ผ่านการเลือกใช้อย่างดี ถูกต้องตามลักษณะการใช้สอยของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ แล้ว จะช่วยทำให้ผิวหน้าของพื้นผิวเมื่อมีการใช้งานจะทำความสะอาดได้ง่ายไม่ดูดซึมน้ำและสารละลายต่างๆ ได้ เช่น ครัว ควรใช้สีที่ทำความสะอาดง่ายเช่นสีน้ำมัน หรือ สีAcrylic อย่างดี, ห้อง LAB หรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้สีที่มีความทนทานต่อสารเคมี และห้องน้ำ ควรใช้สีที่ทนต่อน้ำและความชื้นได้ดี ทำความสะอาดง่าย เป็นต้น

3. เพื่อปรับความเข้มของแสง บรรดาเฉดสีต่างๆ นอกจากจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย เช่น ทำให้ดูโล่งกว้าง ดูหนักแน่น หรือดูเร้าใจ เป็นต้นแล้วก็ยังจะมีส่วนช่วยในการปรับ ความเข้ม จาง ของแสงจากแสงแดดและแสงไฟฟ้า เฉดของสีมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดความเข้มของแสงในอาคารได้ เช่น ในห้องอ่านหนังสือที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ ก็ควรใช้เฉดสีสว่าง เช่น สีขาว ในขณะที่ห้องชมภาพยนตร์ ควรจะเลือกใช้เฉดสีที่มืด ไม่รบกวนการชมภาพยนตร์ เป็นต้น ในห้องที่แสงไม่พอ ก็สามารถ ใช้เฉดสีสว่างเข้ามาช่วยทำให้แสงภายในห้องดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง

4. สัญลักษณ์เครื่องหมาย บางครั้งก็มีการใช้สีสื่อความหมาย เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ ในรูปกราฟฟิก สีบางชนิด จะมีการสื่อ ความหมาย เป็นแบบมาตรฐานสากลได้ เช่น ป้ายจราจร สัญลักษณ์ ระวังอันตรายต่างๆ เป็นต้น

5. ความสวยงาม ประการสุดท้ายซึ่งเป็นประการสำคัญในการเลือกใช้สี คือเรื่องของความสวยงามความพอใจ ซึ่งเป็นผลโดยตรง และเห็นได้ชัดเจนที่สุด สำหรับงาน ทางสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนต่างๆ การเลือกชนิดของสี และ เฉดสีอาจช่วยเน้น ให้แนวความคิดใน การออกแบบแสดงออกมา ได้ดียิ่งขึ้น
การเลือกใช้สีนั้น อันดับแรก ต้องพิจาณา ถึงความต้องการใช้สอยในพื้นที่ที่จะทาเสียก่อน ว่ามีการใช้งานมากน้อย หนักเบาอย่างไรบ้าง ดูว่าพื้นที่นั้น ๆ มีความต้องการพิเศษ หรือไม่อย่างไร สุดท้ายจึงคำนึงถึงความชอบ ความสวยงาม

ชนิดและประเภทของสีเพื่อการใช้งาน

สีชนิดทาภายนอกอาคาร คือ สีที่จะทาในส่วนภายนอกอาคารทั้งหมด ที่มีการระบุให้ทาสี รวมทั้งพื้นผิวส่วนที่เปิดสู่ภายนอก หรือ พื้นผิวส่วนที่จะได้รับแสงแดดโดยตรงจากภายนอกได้ ให้ทาด้วยสีประเภทอาคิลิค (Pure Acrylic Paint )โดยทำการทา 3 เที่ยว ในการทาสีทุกชนิดโดยเฉพาะสีทาภายนอกนั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสีนั่นเอง เพราะกว่า 80 % ของ การวิบัติของสี เกิดมาจาก การเตรียมพื้นผิวไม่ดี ก่อนการทาสีนั้น ต้องให้แน่ใจว่า พื้นที่จะทานั้น แห้งสนิท ไม่มีสภาพ เป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะ ควรเป็น ผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น หากมีต้องทำ การโป๊วปิดรอยต่อ เสียให้เรียบร้อย ก่อน การทาสี โดยปรกติ การทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบและ ไม่ควร ทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสี มีความหนาเกินไป และหลุดร่อนได้ง่าย

สีน้ำพลาสติกทาภายใน คือ สีที่จะทา ส่วนภายในอาคาร เช่น ผนังฉาบปูนพื้นผิว ยิปซั่มบอร์ด กระแผ่นเรียบ หรือส่วนอื่นๆ ที่ระบุให้ทา ด้วยสีพลาสติก ( ทา 2-3 เที่ยว ) ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำสีภายในใช้ทาผนังภายนอก เนื่องจากสีภายใน ไม่ทนแดดทนฝน ทำให้สี หลุดร่อนได้ง่าย ที่คิดว่ามีราคาถูกกว่าสีทาภายนอกตั้งแต่แรกก็จะกลายเป็นแพงกว่าขึ้นมาทันที แถมยังเสียเวลา เสียความรู้สึก อีกด้วย เวลาสีหลุดล่อนแตกลายงา ส่วนในผนังที่จะทาสีน้ำมันต้องสะอาด แห้ง และสิ่งที่สำคัญมากคือ ต้องไม่มีความชื้นเพราะ ความชื้นที่มีอยู่ ภายใน หากทาสีแล้วชั้น ของสีน้ำมันจะทับทำให้ระบายอากาศไม่ได้และจะทำให้เนื้อสีพอง บวม ออกมาได้ชัดเจน มากกว่าสีน้ำ หรือ สีอาคิลิค (Acrylic) สีในแต่ละส่วนของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นภายนอก ภายใน หรือส่วนอื่นของบ้านย่อมมี รายละเอียดของสี ที่ทาการรักษาบ้านให้ดูใหม่อยู่เสมอไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่รู้วิธีอย่างเช่น การเปลี่ยนสีสันของบ้านหรือเปลี่ยนเครื่องใช้เฟอร์นิเจอร์ ก็ทำให้บ้านดูสวยได้แล้ว เรามีคำแนะนำ 9 ข้อที่น่ารู้ในการทาสีให้ดูสดใสโดดเด่น...

1. เตรียมงบประมาณ อย่างแรกต้องคำนึงถึง เงิน ที่เราสามารถใช้จ่าย ว่าเรามีงบประมาณอยู่เท่าไหร่ซึ่งจะต้องรวมทั้งค่าสี ค่าช่างทาสี รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ

2. ถามผู้เชี่ยวชาญ ในการทาสีบ้านเราต้องรู้ว่าเราจะทาสีลงบนพื้นผิวประเภทใด ผิวปูน หรือ ผิวไม้ ใช้ทาสีภายในหรือภายนอก หากเราไม่แน่ใจว่าจะใช้ ว่าจะใช้สีอะไรดี ควรจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สถาปนิก หรือช่างทาสี ซึ่งจะมีคำแนะนำดี ๆ ในการใช้สีให้ถูกประเภท และลักษณะการใช้งาน

3. เลือกสี เมื่อสอบถามผู้เชี่ยวชาญจนแน่ใจในเรื่องการใช้สีให้ถูกต้องแล้ว เลือกสีที่ตัวเองชอบ ยิ่งเป็นสีทาภายในควรให้กลมกลืนกับขอบประตู-หน้าต่าง ละถ้าพื้นผิวภายนอกเป็นปูนควรเลือกใช้สีที่มีคุณภาพสูงที่สามารถยืดอายุการใช้งานให้นานปกป้องสีบ้านจากการซีดจางที่เกิดจากแสงแดด ทนทานต่อสภาวะอากาศต่อต้านการเกิดเชื้อรา ตะไคร่น้ำ รวมทั้งไม่จับฝุ่นซึ่งจะทำความสะอาดได้ง่าย

4. เตรียมพื้นผิว ก่อนจะลงมือทาสีควร ทำความสะอาดฝุ่นละออง และใช้แปรงแซะสีเก่าที่หลุดลอกออกเช็ดให้สะอาด แล้วปล่อยให้แห้งสนิท การเตรียมพื้นผิวที่ถูกต้องจะช่วยให้สีที่ทาติดนานยิ่งขึ้น

5. ทาสีรองพื้น การทาสีรองพื้นรก่อนจะช่วยยึดเกาะกับผนังได้ดีไม่หลุดออกง่าย ๆ เลือกสีรองพื้นชนิดที่เหมาะสมกับสภาพพื้นผิว เพราะสีรองพื้นสำหรับพื้นที่ยังไม่เคยทาสีมาก่อน ควรใช้สีรองพื้นที่สามารถป้องกันด่างหรือการใช้สีรองพื้นสำหรับพื้นผิวเนื้ออ่อน และไม้เนื้อแข็งที่อาจมียางซึม ออกมาได้ ควรทาสีรองพื้นที่สามารถกันยางและเชื้อรา

6. อุปกรณ์ทาสี แปรงทาสี และลูกกลิ้งมีความแตกต่างกัน แปรงทาสีสามารถ เข้าได้ทุกซอกมุมของพื้นที่ที่ต้องการทา จึงเหมาะกับในกรณีที่เตรียมพื้นผิว แบบหยาบ ๆ หรือผิวที่ไม่เรียบ การใช้แปรงทาจะทำให้สีสัมผัสกับผิวผนัง ในซอกมุมต่าง ๆ ได้ดี ลูกกลิ้งเหมาะสำหรับการทาในพื้นที่กว้าง ๆ ซึ่งสามารถทำให้การทาสีทำได้เร็วกว่า แต่ลูกกลิ้งจะใช้ปริมาณมากกว่าการทาด้วยแปรง

7. อุปกรณ์จำเป็นอื่น ๆ สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือผ้าปูผื้นกันเปื้อนเพื่อป้องกันสี กระเด็นหรือตกหล่นพื้น บันได้สำหรับทาที่สูงและเพดาน ถาดผสมสี และ อุปกรณ์ทำความสะอาดต่าง ๆ

8. เก็บรายละเอียด เมื่อทาเสร็จแล้ว ควรตรวจสอบหาข้อบกพร่อง เช่น สีที่ทาอาจจะไม่สม่ำเสมอกัน หรือยังไม่ได้ทาในส่วนที่เป็นซอกเป็นมุม จากนั้นเก็บรายละเอียดของงานให้ละเอียดของงานให้เรียบร้อย เท่านี้ก็จะได้บ้านที่ดูใหม่ และสดใสขึ้นโดยไม่ต้องมีการตกแต่งอะไรให้สิ้นเปลือง

9. การเก็บรักษาสี หากใช้สีไม่หมดแต่เหลือจำนวนสีไม่มาก และอยากเก็บสีไว้ใช้ต่อครั้งหน้า ควรจะเทสีใส่กระป๋องที่มีขนาดเล็กปิดฝาให้แน่น เพื่อป้องกันการแข็งตัวของสีบนพื้นผิว

 แหล่งอ้างอิง

 http://www.paintandbuild.com แตกต่างกัน

ช่างปูน

งานช่างปูน

ช่างปูน
Plastering
   ความหมายของงานช่างปูน

               ช่างปูน เป็นช่างประเภทหนึ่งในจำพวกช่างสิบหมู่ งานของช่างปูน เป็นงานสร้างทำอาคารสถานชนิดเครื่อง ก่อประเภท เจติยสถานและศาสนสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์เจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร ฐานชุกชี ซุ้มคูหา กับได้ทำพระมหาปราสาท พระราชมณเฑียร แท่นฐาน เกยราชยาน ประตู เครื่องยอดต่างๆ ใบเสมา กำแพงและป้อมปราการ เป็นต้น และงานของช่างปูนยังเนื่องด้วยการปั้นปูนอีกด้วย

 การใช้งานอุปกรณ์งานช่างปูน


             เกรียงเหล็ก  ใช้กับงานสี โป้วอุด ปาด หรือใช้งานตามที่ต้องการมีให้เลือกหลายขนาดตามหน้ากว้างของเกรียงเหล็ก

                                    
เกรียงไม้ ใช้สำหรับตกแต่งหรือกดปูนให้เรียบ


                                               
      
1. ทำงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง


                     2. ปรึกษาผู้ให้คำแนะนำในการททำงาที่ถูกต้องและปลอดภัย
                     3. อย่าลืมคำว่า ความถูกต้อง ต้องมาเป็นอันดับแรก
                     4. คำขวัญที่ดีกล่าวได้ว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือ ความปลอดภัย
                     5. หลีกเลี่ยงการเล่นอย่างคึกคะนองและให้ความสนใจป้ายเตือนต่างๆในโรงเรียน

การป้องกันตัวในการทำงาน



1. เสื้อผ้าที่หลวมจะโดนเครื่องจักรดึงหรือกระชากได้ เสื้อที่มีแขวนยาวควนติดกระดุมข้อมือให้แน่น หรือพับให้ถึงข้อศอก เสื้อผ้าที่ควรใช้ทำงานไม่ควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือเสื้อฝึกงาน
2. ควรถอดแหวน นาฬิกา และเครื่องประดับอื่นๆ ก่อนที่จะทำงานกับเครื่องมือ และเครื่องจักร
3. ควรสวมแว่นป้องกันแสงหรือป้องกันสายตา ประกอบด้วยเครื่องบังเพื่อป้องกันดวงตาจากเศษไม้ ตะปู ขี้เลื่อย และรอยเปื้อนต่างๆ
4. ควรสวมเสื้อป้องกันหูเมื่อทำงานรอบๆ เครื่องจักรในระยะเวลานานๆ
5. ควรเก็บหรือรวบรวมผมที่ยาวให้ห่างจากเครื่องจักรที่กำลังทำงาน การผูกผมไว้ด้านหลังหรือใช้ผ้าคลุมผม จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้ส่วนหนึ่ง

การรายงานอุบัติเหตุ


            การรายงานอุบัติเหตุต่างๆ ไม่ใช่สิ่งสำคัญเพียงเล็กน้อย และสิ่งที่ช่วยกันอันดับแรก คือ เมื่อมีแผลที่เกิดจากการตัดหรือขีดข่วน ซึ่งจะทำให้เชื้อ โรคเข้าไปในบาดแผลได้ หรือบางสิ่งบางอย่างเข้าตาแม้เพียงเล็กน้อย ต้องไปให้แพทย์ตรวจทันที
อ้างอิง : http://www.st.ac.th/engin/wood.html

                    ไม้แบบ ใช้ในการหล่อแผ่นคอนกรีต โดยทั่วๆ ไปแล้วสามารถหาวัสดุหลายชนิดนำมาทำเป็นไม้แบบได้ เช่น เหล็กแผ่น อลูมิเนียมแผ่น สังกะสีแผ่นเรียบ สังกะสีลูกฟูก กระดาษแข็ง พีวีซีแผ่นไม้อัด ไม้ วัสดุที่กล่าวมานี้ อาจใช้วัสดุจากส่วนที่เหลือจากงานอื่น ๆได้ การทำไม้แบบไม่จำเป็นจะต้องทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป อาจนำมาตัด, ดังแปลง ตามแนวความคิดของแต่ละบุคคล อาจจะเป็นรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม รูปแปดเหลี่ยม และรูปอื่น ๆ ก็ได้ สำหรับไม้แบบที่จะกล่าวในบทความนี้ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้ไม้ฉำฉา ซึ่งได้มาจากไม้ที่เป็นลังเป็นกล่องไม้ที่ใช้บรรจุสินค้ามาจำหน่ายแล้วทิ้ง กล่องไม้นี้ตามข้างถนนหรือที่บางแห่ง ซึ่งไม้ต้องการใช้อีกแล้วนำมาใช้ประโยชน์ทำไม้แบบในงานนี้ได้ ขนาดของไม้ฉำฉาที่ต้องการควรมีความหนา 1/2" กว้าง 2" ยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน และยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน นำมาไสให้เรียบทั้ง 4 ด้านและให้ได้ฉาก พยายามให้มีขนาดหนาที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความกว้างต้องเท่ากันทุกท่อนคือประมาณ 5 เซนติเมตร ตวามยาว 40 เซนติเมตรจำนวน 2 ท่อน และความยาว 60 เซนติเมตร จำนวน 2 ท่อน ไม้ทั้ง 4 ท่อน นี้ควรไสให้ตรง ได้ฉากเพื่อจะประกอบกันง่ายขึ้น ไม้ดังกล่าวนี้ต้องไม่แตกร้าว บิดงอ มีตำหนิมากและรอยตำหนิใหญ่ ถ้าไม่มีตำหนิเลยยิ่งดี เป็นไม้ที่แห้งไม่เปื้อนเปรอะสี, น้ำมัน, ดิน, โคลน, กาว ควรเป็นไม้ที่มีผิวเกลี้ยงสะอาด เพื่อจะได้เป็นไม้แบบที่สมบูรณ์ที่สุด

                                      

 

 

งานช่างไฟฟ้า




สายงาน ช่างไฟฟ้า

ลักษณะงานโดยทั่วไป
สาย งานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางด้านช่างไฟฟ้า ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้าง ตรวจแก้ ซ่อม ปรับ ประกอบ ดัดแปลง ทดสอบ ติดตั้ง และบำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าคำนวณรายการและ ควบคุมตรวจสอบความเรียบร้อยในงานไฟฟ้า และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อและระดับของตำแหน่ง

ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้ คือ

ช่างไฟฟ้า 1 ระดับ 1
ช่างไฟฟ้า 2 ระดับ 2
ช่างไฟฟ้า 3 ระดับ 3
ช่างไฟฟ้า 4 ระดับ 4
ช่างไฟฟ้า 5 ระดับ 5
ช่างไฟฟ้า 6 ระดับ 6
ช่างไฟฟ้า 7 ระดับ 7
ช่างไฟฟ้า 8 ระดับ 8



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 1

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ไม่ยากภายใต้การกำกับ ตรวจสอบโดยใกล้ชิด หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่อย่างชัดเจนหรือละเอียดถี่ถ้วน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ไม่ยาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ช่วยในการติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ บำรุงรักษา ซ่อมเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานในหน่วยงาน เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. มีความรู้ความสามารถในงานช่างไฟฟ้าอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดม ศึกษา กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาและคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
4. มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความละเอียดรอบคอบและถูกต้อง





ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 2

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าที่ค่อนข้างยากภายใต้การกำกับตรวจสอบโดยทั่วไป หรือตามคำสั่ง หรือแบบ
หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่บ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ
เช่น ช่วยในการติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ ซ่อม บำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลและประวัติการซ่อมและข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 1 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. ได้รับอนุปริญญาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอก จากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 1 แล้ว จะต้องมีความสามารถในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่ อยู่ในความรับผิดชอบ



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 3

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ยากพอสมควรภายใต้การกำกับตรวจสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็น หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่อย่างกว้างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากพอสมควร โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับ ซ่อม บำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมรวมข้อมูลและประวัติการซ่อม และข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงาน เป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 2
หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 2 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
2. มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล




ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 4

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าที่ยากภายใต้การกำกับตรวจสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็น หรือตามคำสั่ง หรือแบบ
หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือที่มีอยู่อย่างกว้างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ติดตั้ง ประกอบ ดัดแปลง ปรับซ่อม บำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เบิกจ่าย จัดเก็บรักษา เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลและประวัติการซ่อม และข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงานเป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 2 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 3 แล้วจะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 5

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ค่อนข้างยากมากภายใต้การกำกับตรวจสอบน้อยมาก หรือตามคำสั่ง หรือแบบ หรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือในบางกรณี ซึ่งต้องมีการใช้ความคิดริเริ่มบ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ค่อนข้างยากมาก โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น ตรวจ ทดสอบ สร้าง ซ่อม ประกอบ ดัดแปลง ติดตั้ง และบำรุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าที่ต้องใช้ความละเอียดแม่นยำ เทคนิคและความชำนาญสูงมาก คำนวณรายการ และประมาณราคาในการดำเนินงาน ควบคุมตรวจสอบการใช้ การเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน เป็นต้น เผยแพร่งานทางด้านช่างไฟฟ้า ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่น
ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4
หรือ เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ระดับ 3 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 4 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ





ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 6

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานช่างไฟฟ้าที่ยากมากภายใต้การกำกับตรวจสอบน้อยมาก ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์และความคิดริเริ่มในงานที่มีแนวปฏิบัติน้อยมาก ต้องพิจารณาแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติ งานในฐานะผู้ชำนาญการซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าที่ยากมาก ต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์กับงานที่ปฏิบัติเพื่อกำหนดและปรับ เปลี่ยนแผนงานให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยไม่ต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ แนะนำ ตลอดจนตัดสินใจแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบโดยอิสระ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย


ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากมากซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงานและประสบการณ์สูง โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า ต่างๆ เช่น สร้าง ตรวจแก้ ปรับ ประกอบดัดแปลง ทดสอบ ติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าซึ่งมีระบบการทำงานที่ยุ่งยากมาก ตรวจ ทดสอบ ศึกษารายละเอียดอุปกรณ์ใหม่ ๆ พัฒนาเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น เป็นต้น ศึกษา ค้นคว้าหาวิธีการต่าง ๆ ในการปรับปรุงงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อการกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาในงานช่างไฟฟ้าโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เผยแพร่และให้บริการในงานที่รับผิดชอบ ช่วยสอนและฝึกงานภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษา ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับ
งานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1.กรณีตำแหน่งที่มีประสบการณ์
1.1 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 2 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 5 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
1.2 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 2 ข้อ 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี


2.กรณีตำแหน่งระดับชำนาญการ
2.1 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งใน
ระดับ 5 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าหรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2.2 มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอก จากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 5 แล้ว จะต้องมีความชำนาญงานในหน้าที่และมีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน




ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 7

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติ งานในฐานะผู้ชำนาญการซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าที่ยากเป็นพิเศษ ต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์กับงานที่ปฏิบัติ เพื่อกำหนดและปรับเปลี่ยนแผนงานให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยไม่ต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ แนะนำ ตลอดจนตัดสินใจแก้ไขปัญหาใน
งานที่รับผิดชอบโดยอิสระ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากเป็นพิเศษซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากโดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยว กับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ ศึกษา ค้นคว้า ทดลองเพื่อพัฒนาแนวทางวิธีการในงานช่างไฟฟ้าซึ่งต้องใช้เทคนิคและความชำนาญ ช่วยสอนและฝึกงานภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาและผู้เข้ารับการฝึกอบรมทางด้าน ช่างๆไฟฟ้า ศึกษาค้นคว้าหาวิธีการต่างๆในการปรับปรุงงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น ปรับปรุงคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ศึกษา วิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาในงานโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เผยแพร่และให้บริการในงานที่รับผิดชอบ ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 6
หรือ เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่น
ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอก จากมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า 6 แล้ว จะต้องมีความชำนาญงานในหน้าที่และมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายการบริหารงาน ของรัฐบาล ปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ



ชื่อตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า 8

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ชำนาญการซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าที่ยากมากเป็นพิเศษ
โดย ต้องคิดริเริ่ม ยกเลิก หรือกำหนดขั้นตอนการทำงาน ตลอดจนต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ในการกำกับ ตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตามที่กำหนดในช่วงเวลาที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติงานโดยอิสระ และต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดทำและปรับเปลี่ยนแผนงาน โครงการต่าง ๆ หรือแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบเป็นประจำ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติ งานที่ยากมากเป็นพิเศษซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงานและประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษโดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่าง หนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าต่างๆ ศึกษา ค้นคว้า ทดลองเพื่อสร้างแนวทางวิธีการใหม่ในงานช่างไฟฟ้าซึ่งต้องใช้เทคนิคและความ ชำนาญสูง ช่วยสอนและฝึกงานภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาและผู้เข้ารับการฝึกอบรมทางด้าน ช่างไฟฟ้า ศึกษา ค้นคว้า หาวิธีการต่างๆ ในการปรับปรุงงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้คำแนะนำในการปรับปรุงคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ศึกษา วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงมาตรฐานในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาในงานโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เผยแพร่และให้บริการในงานที่รับผิดชอบ ฝึกอบรม ให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงาน ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 ดำรงตำแหน่งช่างไฟฟ้า 7 ตำแหน่งผู้ชำนาญการ ระดับ 7 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 7 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งช่างไฟฟ้า 1 หรือช่างไฟฟ้า 2 ดำรงตำแหน่งช่างไฟฟ้า 7 ตำแหน่งผู้ชำนาญการ ระดับ 7 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6 หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้า หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากมีความ
 
แหล่งที่มา
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ช่างไม้

                          ความหมายของงานช่างไม้                  
                 งานไม้เป็นงานช่างที่ใช้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์  ต้องมีความอดทน  ขยัน         มีความรับผิดชอบสูง  สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นไม้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้ได้อย่างเหมาะสม  ทั้งที่จะต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือและกระบวนการในการใช้  จึงจะสามารถทำงาน  ไม้ได้อย่างสวยงาม  เรียบร้อย  มีประสิทธิภาพในการใช้เครื่องมือและใช้วัสดุ  ปัจจุบันไม้มีคุณค่ามาก  หายาก  เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปเกือบหมด  จนต้องใช้วัสดุอื่น ๆ มาทดแทนไม้  เช่น  พลาสติก  โลหะ  งานช่างไม้ในงานช่างพื้นฐานเป็นงานช่างไม้เบื้องต้น  สามารถปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง 

  การใช้เครื่องมืองานช่างไม้

1.   เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง และเข้าใจกฎความปลอดภัยของเครื่องมือและเครื่องจักรที่ซื้อมา ตลอดจนเรียนรู้คำเตือนจากป้ายสัญญาณ เช่น ป้ายหยุดดังรูปที่ 2.4
2.   เครื่องตัดไม้ที่คมจะช่วยให้ทำงานได้ง่ายและดี ส่วนใบมีดที่ไม่คมจะทำให้ลื่นและอาจพลาดไปถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
3.      ไม่ควรทดสอบความคมของเครื่องมือด้วยอวัยวะของร่างกาย แต่ควรใช้ไม้หรือกระดานแทน
4.      นิ้วมือควรจะให้ห่างจากคมมีดของเครื่องมือ และใช้ไม้หรือวัสดุอื่นตัด ดังรูป 2.5
5.      ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้นิ้วหรือมือในการสตาร์ตเครื่องจักร
6.   ต้องมั่นใจว่าเครื่องจักรที่ใช้อยู่ในสภาพดี ควรตรวจสอบความเรียบร้อยว่าไม่แตกหักหรือหลวม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
7.   ต้องไม่ใช้เครื่องมือผิดวิธี เช่น ไม่ควรใช้สิ่วเปิดกล่องไม้หรือกระป๋อง ต้องใช้เครื่องมือให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่าง

การดูแลรักษาเครื่องมืองานช่างไม้   และ   ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมืองานช่างไม้      

                 เครื่องมือวัด

 1.      ตลับเมตร  ใช้สำหรับวัดหรือกะส่วน  มีความยาว    23  เมตร  บนเทปมีมาตราวัดทั้งระบบอังกฤษและระบบเมตริก
การบำรุงรักษา
1.      ไม่ควรดึงตลับเมตรเล่นหรือทำตกจากโต๊ะฝึกงาน
2.      ทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากใช้งานแล้ว
3.      ตรวจดูสภาพของตลับเมตรก่อนหรือใช้งานทุกครั้ง
2.    ฉากตาย  ใช้สำหรับหาเส้นฉากและทำมุม   45  องศา
การบำรุงรักษา
1.      ทำความสะอาดแล้วเช็ดด้วยน้ำมันกันสนิมก่อนเก็บทุกครั้ง
2.      ไม่ควรนำฉากไปใช้ที่ไม่เหมาะสมกับงาน
3.      ระวังไม่ให้ฉากตกจากโต๊ะทำงาน
3.    ฉากเป็น   ใช้บอกหรือวัดมุมต่างๆ  ที่ไม่ใช่มุม  45  หรือ  90  องศาประกอบด้วยด้ามและใบบริเวณที่ต่อกัน  ส่วนใบจะมีร่อง  วิธีใช้จับด้ามให้สนิทกับงานต้านที่เรียบจะใช้มากช่วยรับใบให้สนิทกับงานอีกด้านหนึ่งของมุมที่จะวัด  และนำไปเทียบองศาก็จะบอกมุมได้ตามต้องการ
 การบำรุงรักษา   หลังใช้งานเสร็จแล้วต้องทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบางๆ บนส่วนที่เป็นโลหะ
4.   ฉากใหญ่  ใช้วัดขีดมุมฉาก  ตรวจฉากของการเข้าไม้ฉากเป็นเหล็กชิ้นเดียวกัน  ทำมุม  90  องศา  ขนาดหนา  1/8  นิ้วเท่ากันตลอด  ความยาวอาจเป็น   16  X   24  หรือ  18 X  24
         วิธีใช้  -    ใช้วัดขีดมุมฉาก  ให้วางฉากลงบนไม้  โดยให้ขอบแนบสนิทกับผิวไม้ด้านเรียบ  แล้วจึงขีดเส้นฉากตามต้องการบนอีกด้านหนึ่ง
                  -    ใช้ตรวจฉากของการเข้าไม้  โดยจับให้ฉากเข้ากับบริเวณที่เข้าไม้  ถ้าขนกับแนบชนิดแสดงว่า   การเข้าไม้ได้ฉากตามต้องการ  งานที่มักจะใช้ฉากใหญ่  คือ  งานชิ้นใหญ่   เช่น  ตู้  ฯลฯ
การบำรุงรักษา  หลังจากใช้งานต้องทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบางๆ
            5.   ฉากรวม   เป็นฉากที่ใช้ตรวจมุมฉาก  และมุม  45  องศา  อาจมีระดับน้ำหรือเหล็กขีดเพื่อให้ใช้งานได้กว้างขวางขึ้น    ฉากประกอบ ด้วย ส่วนหัวและใบ   ซึ่งถอดแยกกันได้  ส่วนหัวสามารถวิ่งไปบนร่องของใบได้ด้วย
             วิธีใช้  เนื่องจากช่วงระหว่างใบกับหัวจะเป็นมุม  90  องศา  และ  45  องศา  จึงสามารถใช้ฉากรวมนี้วัดมุมได้  ทั้งมุม  90  องศา  และ  45  องศานอกจากนี้ส่วนหัวเมื่อถอดออกจากใบแล้ว  สามารถวัดฉากของการเข้าไม่ได้อีกด้วย
    การบำรุงรักษา    หลังจากใช้งานต้องทำความสะอาดและใช้ชโลมน้ำมันบางๆ  บนส่วนที่เป็นโลหะ
            6.   ขอขีดไม้   ใช้ขีดทำแนวเพื่อการเลื่อย  ผ่า หรือทำรูเดือย ประกอบด้วยส่วนหัวและแขนยึดกันแน่นด้วยสลักหรือลิ่ม  ปลายของแขนข้างหนึ่งจะมีเข็มปลายแหลม
               วิธีใช้  คลายสลักหรือลิ่มออกแล้ววัดระยะห่างจากปลายเข็มกับด้ามของหัวที่อยู่ทางปลายเข็มให้ได้ขนาดตามต้องการแล้วล็อกให้แน่น จับขอขีดด้ามที่มีเข็มให้แนบสนิทกับไม้และกดดันไปข้างหน้าโดยให้ปลายเข็มขีดผิวไม้ตลอดเวลา
การบำรุงรักษา  หลังใช้งานควรทำความสะอาดชโลมน้ำมันส่วนที่เป็นโลหะแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
  
                             เครื่องมือตัด
1.      เลื่อยลันดา  ที่มีขายตามท้องตลาดแบ่งออกได้เป็น  2  อย่างดังนี้
1.1   เลื่อยลันดาชนิดตัด  ใช้ตัดขวางเสี้ยนไม้ปลายของฟันเลื่อยจะแหลม มีลักษณะ        
               เหมือนปลายมีดจำนวนฟันต่อนิ้วประมาณ 8-12 ฟัน ลักษณะการทำงานของฟันจะเหมือน                    
               มีดหลายๆเล่มเฉือนไม้เวลาตัดมุมเอียงกับไม้หรือวางที่จะตัดอย่างน้อย 45 องศา
1.2   เลื่อยลันดาชนิดโกรก ใช้เลื่อยหรือผ่าไม้ตามเสี้ยนไม้ จำนวนฟันต่อนิ้ว 5-8 ซี่
                เลื่อยชนิดนี้มีฟันห่าง องศาเอียงของฟันจะมากกว่าความยาวของใบเลื่อยมีตั้งแต่ 20-28 นิ้ว
                ขอบหน้าตัดของปลายฟันจะตั้งฉากกับใบเลื่อย
                            เลื่อยทุกชนิดจะต้องทำการคัดคลองเลื่อย คือคัดปลายฟันเลื่อยเอียงสลับกัน ให้
                กว้างกว่าความหนาของใบเลื่อย เพราะเวลาเลื่อยจะไม่ฝืดและติดไม้

การบำรุงรักษา

       1.      ระวังคมเลื่อยจะโดนส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
       2.      เมื่อใช้แล้วทำความสะอาดทาน้ำมันกันสนิมด้วย
       3.      หมั่นรักษาความคมของเลื่อย โดยใช้ตะไบสามเหลี่ยมและคัดคลองเลื่อยด้วยคีมคัดคลองเลื่อยตัดปากไม้หรือเลื่อยสันแข็ง เพราะสันหนารูปร่างคล้ายตัดแต่ฟันถี่และละเอียดกว่าความยาวของส่วนใบประมาณ 8-18 นิ้ว ใช้สำหรับงานละเอียดประณีต เช่น เข้าปากไม้ เข้าเดือย
2.   เลื่อยตัดปากไม้ หรือเลื่อยสันแข็ง เพราะสันหลังแข็งฟันถี่และละเอียดความยาวของใบ                      ประมาณ   8-18 นิ้ว  ใช้สำหรับงานละเอียด เช่น เข้าปากไม้ เข้าเดือย
3.  เลื่อนรอปากไม้ก็คือเลื่อยตัดปากไม้แต่ใบบางกว่าฟันละเอียดกว่า ด้ามจับคล้ายลิ่วความยาวของใบยาว 6-12 นิ้ว ใช้สำหรับรอปากไม้ในเวลาเข้าไม้ใช้เลื่อยแผ่นไม้บางๆเพื่อทำแบบจำลอง
4.      เลื่อยฉลุ คือเลื่อยอกขนาดเล็ก หน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับเลื่อยอกแต่โครงเป็นโลหะใบเลื่อยเล็กใช้งานไม่ได้กว้างเท่าเลื่อยอก
วิธีใช้เลื่อยฉลุ
1.      ใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยโดยให้ฟันของเลื่อยออกด้านหน้าและคมของใบเลื่อยพุ่งลงข้างล่าง
2.      หมุนปรับใบเลื่อยให้ตึง(อย่าให้ตึงหรือหย่อนเกินไปจะทำให้ขาดง่าย)
3.      ขณะเลื่อยตัดงานควรบังคับโครงใบเลื่อยให้ตรงและเคลื่อนไหวช้าๆ
5.   เลื่อยอก ใช้ตัดผ่าไม้ โครงเลื่อยส่วนใหญ่จะเป็นไม้เช่นคันเลื่อย(รัดเกล้า) อกเลื่อยไม้มือจับส่วนที่เป็นเหล็กคือ สลักและใบเลื่อย ใบเลื่อยมีทั้งฟันตัดและฟันโกรก วางทำมุมกับเรือนเลื่อย 
วิธีใช้   การผ่าหรือโกรกไม้ควรใช้ทั้งสองมือ มือหนึ่งจับด้ามอีกมือหนึ่งจับใบ เพื่อคุมใบเลื่อย วางใบเลื่อยตั้งฉากกับไม้และฟันเลื่อยทำมุมกับไม้ 60 องศา ส่วนการตัดไม้อาจใช้มือเดียวจับด้ามให้ใบเลื่อยตั้งฉากกับไม้ ฟันเลื่อยทำมุมกับไม้ 45  องศา
การบำรุงรักษา  ก่อนใช้งานควรสำรวจเลื่อยและหลังใช้งานควรผ่อนความตึงของใบ ทำความสะอาดและชโลมน้ำมันส่วนที่เป็นโลหะ
6.      เลื่อยหางหนู  ใช้เลื่อยตัดส่วนโค้งวงกลมภายในมีด้ามและใบใบเลื่อยใหญ่ที่ส่วนด้ามและเรียวเล็กลงไปถึงปลายเลื่อย ฟันเลื่อยเป็นฟันชนิดโกรก
วิธีใช้  เนื่องจากปลายของเลื่อยเรียวเล็ก จึงใช้ในการตัดส่วนโค้งภายในแผ่นไม้ได้ง่าย
 วิธีเลื่อยเหมือนกับเลื่อยลันดาฟันโกรก
การบำรุงรักษา  หลังจากการใช้งานต้องทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบางๆบนส่วน
ที่เป็นโลหะและไม่ควรเลื่อยไม้ที่หนาเกิน ½ นิ้ว 

เครื่องมือใส

1.      กบล้าง  กบล้างเป็นเครื่องมือเพื่อใสผิวของเนื้อไม้ให้ราบเรียบ ปกติไม้ที่แปรรูปจะเป็นแผ่นหรือเป็นท่อนก็ตาม ผิวยังหยาบเป็นขุยมีเสี้ยนและรอยฟันเลื่อยเมื่อจะนำมาใช้จึงต้องแต่งให้เรียบร้อยกบที่ใช้ในงานช่างไม้ได้แก่
 1.1  กบล้างสั้น  เป็นกบล้างที่มีความยาว 6- 8  นิ้ว  ใช้ใสไม้ที่ขรุขระ  แอ่น  บิด ซึ่งกบชนิดอื่นไม่สามารถใสได้  ใบกบทำมุมกับใบกบ 45 องศา
 1.2 กบล้างยาว  ลักษณะคล้ายกบล้างสั้นแต่ตัวกบยาวกว่า  มีความยาว  16  -18  นิ้วมีมุมเอียงลาดราว  44 – 48 องศา  ใช้ล้างเเนวไม้ให้ตรง  ใช้ไสไม้ก่อนเพราะติดกัน
2 .    กบผิว  ใช้ไสตามหลังกบล้างเพื่อให้เรียบร้อย   ถ้านำกบผิวไปไสไม้ขณะที่ไม้ไม่เรียบ   
หน้ากบจะเสียใช้ไสผิวไม้ได้ระดับ แบ่งออกเป็นกบผิวสั้นและกบผิวยาว
1.1  กบผิวยาวคล้ายกบล้างยาวแต่ไม่มีฝาประกับ แต่มีเหล็กขนาด  1/8 นิ้วX ¾ นิ้ว บังหน้ากบเพื่อให้ใสไม้ได้เรียบมีความยาว 16-18 นิ้ว มีมุม 52-55 องศาในส่วนของไม้ที่เล็ก  มุม 56 – 60 องศา
การบำรุงรักษา
1.      เวลาลับคมใบกบระวังใบกบโดนส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
2.      ขณะใช้งานระวังอย่าให้กบหล่นลงพื้นเพราะอาจแตกหักเสียหายหรือโดนขาได้
3.      เมื่อใส่ใบกบไม่ควรตอกลิ่มมากเกินไป อาจเสียหาย และถอดยาก
4.      หลังใช้งานควรทำความสะอาดและทาน้ำมันที่ท้องกบ
2.      กบบังใบ ใช้สำหรับใสร่องบริเวณขอบไม้หรือบังใบ ตัวเรือนกบคล้ายกบล้างต่างกันที่ท้องกบจะไม่เรียบแต่เป็นสันสี่เหลี่ยมและใบกบโผล่กินเนื้อไม้จะอยู่ด้านนี้
       วิธีใช้   ใช้ไสไม้โดยกดให้สันท้องกบกินตามแนวไม้ที่ต้องการ
การบำรุงรักษา  ก่อนใช้งานควรสำรวจให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้  หลังใช้ควรทำความสะอาด              ชโลมน้ำมัน
3.      กบราง  เป็นกบที่ใช้ทำรางร่องหรือลิ้น เพื่อการเพลาะหรือเข้าไม้ตัวเรือนกบแบ่งเป็น 2 ซีกโดยต่อกันด้วยไม้มือจับ ใบกบสามารถเปลี่ยนได้ ซึ่งแบ่งใบกบออกเป็น 2 อย่างคือ  ใบกบทำลิ้นและใบกบทำราง  ลิ้นและรางจะมีขนาดเท่ากัน
วิธีใช้  ใช้ไสโดยให้ขอบกับด้านในของซีกที่โผล่ยาวออกมาจับขอบไม้ แล้วทำการใสซึ่งจะได้ร่องรางหรือลิ้นตามต้องการ
การบำรุงรักษา  สำรวจความคมของใบก่อนใช้งาน  หลังใช้งานทำความสะอาดชโลมน้ำมันบางๆบนใบกบ
4.      กบขูดหรือกบแต่ง  ใช้ใช้แต่งผิวไม้ที่เป็นส่วนโค้งให้เรียบ ซึ่งกบธรรมดาไม่อาจทำได้ กบประกอบด้วยโครงและแผ่นเหล็กขูด ซึ่งยึดกันด้วยสลักเกลียว
วิธีใช้  ใช้มือทั้งสองข้างจับมือกบให้แน่นแล้วทำการไสและขูดผิวงาน  อาจจะดึงเข้าหาตัวหรือดันออกไปข้างหน้าก็ได้
 การบำรุงรักษา 
1.      การถอดประกอบควรใช้ค้อนไม้เท่านั้น
2.      หลังการใช้งานควรทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบนส่วนที่เป็นโลหะ

                                                               เครื่องมือเจาะ
1.       สิ่วปากบางหรือสิ่วแต่ง  ใช้แต่งขูดผิวไม้หรือปากไม้ให้เรียบสิ่วประกอบด้วย
ใบและด้าม  ส่วนใบเป็นเหล็กกล้า  แบนและบางแต่มีความคมมาก
            วิธีใช้  ใช้มือข้างหนึ่งจับด้ามสิ่ว  ทำหน้าที่นำสิ่วไปข้างหน้า  อีกมือหนึ่งจับตอนปากกลิ่วเพื่อบังคับทิศทางของสิ่วไม่เฉออกจากแนวที่ต้องการ
  การบำรุงรักษา
1.      ก่อนใช้งานต้องสำรวจความคมของสิ่ว
2.      หลังใช้งานต้องทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบาง    บนส่วนที่เป็นโลหะ
2.  สิ่วเจาะ  ใช้เจาะช่องรูเดือย  สิ่วประกอบด้วยด้ามและใบ  ตัวสิ่วมีความหนาแต่ความ
แต่ความกว้างและความคมน้อยกว่าสิ่วปากบางจึงต้องใช้ค้อนไม้ช่วย
            วิธีใช้  ใช้มือข้างหนึ่งจับด้ามมืออีกข้องหนึ่งจับคอนไม้ค่อยๆตอกให้สิ่วกินเนื้อไม้ทีละน้อยจนใกล้กับความลึกที่ต้องการแล้วแต่งร่องหรือรูอีกครั้งให้เรียบร้อย
การบำรุงรักษา 
1.      ก่อนใช้ควรสำรวจความคมของสิ่ว
2.      หลังใช้งานต้องทำความสะอาด ชโลมน้ำมันบางๆบนส่วนที่เป็นโลหะ
3.  สิ่วเล็มมือ  ใช้สำหรับเจาะร่องหรือรูให้มีความโค้งหรือกลม แบ่งเป็น 2 ชนิด
คือคมในและคมนอก ใบสิ่วจะมีความโค้ง              
            วิธีใช้  ใช้มือจับด้ามสิ่ว จ่อคมสิ่วลงบนตำแหน่งที่ต้องการแล้วกดหรือดันให้สิ่วดันเนื้อไม้ตามความต้องการ
การบำรุงรักษา
1.      ก่อนใช้งานต้องสำรวจความคมของสิ่วเสียก่อน
2.      หลังใช้งานต้องทำความสะอาดและชโลมด้วยน้ำมันบางๆบนส่วนที่เป็นโลหะ
4.  สว่านข้อเสือ  ใช้สำหรับเจาะรูเพื่อใส่น๊อต สกรู โดยประกอบกับดอกสว่าน
ดอกสว่านมีหลายขนาดและหลายลักษณะ ตัวดอกสว่านแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนก้านและส่วนเกลียวส่วนก้านจะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายเรียว ส่วนเกลียวจะมีหลายลักษณะใช้ในงานที่แตกต่างกัน
            วิธีใช้  สอดก้านดอกสว่านลงในชัค (Chuck) แล้วหมุนให้Jaws บีบดอกสว่านให้แน่นใช้มือหนึ่งจับที่ Head อีกข้องหนึ่งจับที่ Handle แล้วจ่อดอกสว่านลงบนตำแหน่งที่ต้องการและกดHeadแล้วจึงหมุน Handleดอกสว่านจะกินเนื้อไม้
การบำรุงรักษา  หลังจากใช้งานควรทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบางๆส่วนที่เป็นโลหะ
4.  สว่านเฟือง  ใช้สำหรับเจาะรูเพื่อใส่น๊อตสกรูโดยประกอบกับดอกสว่าน ดอกสว่านมีหลายขนาด แต่ไม่โตกว่า ¼ นิ้วก้านรูปทรงกระบอกเรียบ
วิธีใช้  ใช้มือหนึ่งจับHandle หรือSide handleอีกมือหนึ่งจับที่ Crankแล้วจ่อปลาย
ดอกสว่านลงบนตำแหน่งที่ต้องการแล้วกดมือที่จับHandleและหมุนมือที่Crank ดอกสว่านจะกินเนื้อไม้ตามต้องการ
การบำรุงรักษา
1.      ก่อนใช้ควรสำรวจสว่านและดอกสว่านทุกครั้ง
2.      หลังใช้ควรทำควรทำความสะอาดและชโลมนำมันบางๆบนส่วนที่เป็นโลหะ


เครื่องตอกและเครื่องมืออื่นๆ
1.      ค้อนหงอน  ส่วนประกอบของค้อนแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนหัวและส่วนด้ามใช้สำหรับตอกและถอนตะปู ตอกสิ่ว ตอกไม้เวลาทำโครงร่าง ขนาดของหัวค้อนเรียกตามน้ำหนักของหัวค้อนเป็นปอนด์
2.      ค้อนไม้ สำหรับเคาะ คอก ชิ้นงานไม้หรือเคาะถอนใบกบ เคาะโลหะแผ่นให้เรียบและตอกสิ่วเจาะ
การบำรุงรักษา
1.      เมื่อใช้แล้วทำความสะอาดทาน้ำมันกันสนิม
2.      ปรับหน้าค้อนกับด้ามค้อนให้แน่นอยู่เสมอ
3.      อย่าใช้ค้อนผิดประเภท
4.      ดูแลหน้าค้อนให้เรียบ
3.      ปากกาจับไม้ติดโต๊ะ สำหรับจับไม้เวลา วัด กะ  ไส  โกรก ตัด
การบำรุงรักษา  ต้องทำความสะอาดและยอดน้ำมันกันสนิมอยู่เสมอ
4.      บุ้ง  สำหรับแต่งผิวไม้ แบ่งออกเป็นบุ้งท้องปลิงกับบุ้งกลม
การบำรุงรักษา  ไม่ควรให้เปียกน้ำ ถูกกรดด่างหรือน้ำมัน ควรทำความสะอาดด้วยแปรงปัดผงภายในร่องฟันก่อนเก็บ
5.      เหล็กส่งหัวตะปู  เป็นแท่งเหล็กยาวประมาณ 4-5 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง ¼ นิ้ว มีหน้าที่สำหรับส่งหัวตะปูให้ลงไปต่ำกว่าระดับพื้น
6.      คีมปากนกแก้ว  ใช้ถอนตะปู  ตัดหัวตะปู  ตัดลวด
การบำรุงรักษา  ทาน้ำมันกันสนิมก่อนเก็บทุกครั้ง


อุปกรณ์งานไม้


เลื่อยลันดา             *ใช้ตัดไม้ขนาดต่าง ๆ

เลื่อยลอ            *ใช้ตัดไม้ขนาดเล็ก

เลื่อยเซาะร่อง     *ใช้เซาะร่องขนาดเล็ก
   
สิ่ว            *   ใช้เซาะร่องขนาดเล็ก
        

ตะไบหางหนู   * ใช้แต่งรูกลมขนาดเล็ก ๆ

บุ้ง            *ใช้งานไม้  แต่งผิวงานให้เรียบ
 
กบ    *ใช้แต่งผิวไม้ให้เรียบ

ขวาน     * ใช้ตัดไม้ขนาดต่าง ๆ

แปรงทองเหลือง    *ใช้สำหรับทำความสะอาดปลายหัวแร้ง

เหล็กฉาก     *ใช้วัดให้ได้มุมฉาก   ใช้ในการตัดไม้หรือเหล็ก

ที่วัดระดับน้ำ     * ใช้ปรับพื้นผิวต่าง ๆ ให้ได้ระดับเดียวกัน

เต้า     * ใช้ตีเส้นตรง
 ตลับเมตร     *  ใช้วัดความยาวของสิ่งของต่าง ๆ


 แหล่งอ้างอิง